“ไคติน” ตัวช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและโรคไขข้อเสื่อม
“ไคติน” ตัวช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและโรคไขข้อเสื่อม
ไคติน เป็นโพลีเมอร์ที่มีสายยาวมีองค์ประกอบของหน่วยย่อยเป็นอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสมีชื่อว่า N-acetyl glucosamine เป็นสารที่ละลายยากหรือไม่ค่อยละลาย ส่วนใหญ่จะพบในสิ่งมีชีวิตที่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว เช่น กุ้ง ปู หอย แมลง รวมถึงผนังเซลล์ของเชื้อรา ยีสต์ และสาหร่าย ไคตินในธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
-
อัลฟาไคติน มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยเรียงซ้อนกันสลับไปมาหลายชั้นในคนละทิศ และหนาแน่น อัลฟาไคตินพบมากในเปลือกกุ้ง อัลฟาไคตินในกระดองปู เป็นต้น
-
เบต้าไคติน มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยเรียงซ้อนกันในทิศทางเดียวกันหลายชั้น แต่ไม่แน่นมากเหมือนชนิดอัลฟา เบต้าไคตินพบมากในปลาหมึก เป็นต้น
-
แกมมาไคติน เป็นไคตินที่มีลักษณะของอัลฟาไคติน และเบต้าไคติน มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยเรียงซ้อนกันไปมาหลายชั้นแบบไม่มีทิศทาง แกมมาไคตินพบมากในเชื้อรา
โรคกระดูกพรุนและโรคไขข้อเสื่อม เกิดจากการใช้งานข้อต่อต่างๆ ของร่างกายต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้สูญเสียมวลกระดูกบริเวณข้อต่อ ทำให้ประสิทธิภาพการรับน้ำหนักของกระดูกบริเวณข้อต่อลดลง ผิวข้อต่อสึกกร่อน โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีอาการจะมีความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อต่อต่างๆ ขณะเคลื่อนไหว บางคนอาจเป็นหนักถึงขนาดส่งผลต่อการทรงตัว เช่น เข่าผิดรูปโก่งงอ หรือเพียงแค่มีแรงกระแทกเบาๆ การบิดเอี้ยว ไอจาม หรือลื่นล้ม ก็อาจทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ง่าย ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และพบว่ายิ่งมีอายุมากขึ้น ยิ่งมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น
โดยปกติแล้วร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ไคติดได้ เราจะได้รับไคตินจากอาหารที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น จากคุณสมบัติของไคตินที่กล่าวมา จึงทำให้เรามั่นใจได้ว่าไคตินมีส่วนสำคัญในการทำหน้าที่เข้าไปเพิ่มความแข็งแรงให้กับมวลกระดูกให้มีความหนาแน่นขึ้น เป็นเสมือนโครงสร้างภายในป้องกันความเปราะบางในกระดูก และยังทำหน้าที่เคลือบบริเวณข้อต่อกระดูกให้แข็งแรง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนและโรคไขข้อเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ